Featured Articlesเรื่องควรรู้ เมื่ออยู่เมลเบิร์น

ทำธุรกิจในออสเตรเลีย จดทะเบียนอย่างไรดี?

สวัสดีค่ะ ทนายเพื่อคนไทย (Lawyers For Thai) มีสาระดีๆมาฝากเช่นเคยค่ะ หลายๆท่านที่อยากจะเป็นเจ้าของกิจการหรือ ทำธุรกิจในออสเตรเลีย อาจจะสงสัยว่า ถ้าจะเปิดร้านนวด หรือ ร้านอาหารสักร้าน เราควรจดทะเบียนเป็นการค้า/ชื่อธุรกิจ (Business Name) หรือ ควรจดทะเบียนบริษัท (Company) ดีกว่าค่ะ ทนายเพื่อคนไทย (Lawyers For Thai) มีข้อแนะนำดีๆง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมาฝากค่ะ

asian grocery in Melbourne
Asian grocery in Melbourne

การจดทะเบียนในประเทศออสเตรเลียนั้นนะคะ คุณสามารถจดทะเบียน ในนาม บริษัท (Company)  หรือ จดทะเบียนเฉพาะชื่อธุรกิจ (Business Name) ก็ได้นะคะ การจดทะเบียนดังกล่าวในปัจจุบันนี้จะต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานที่ชื่อ ASIC: Australian Securities and Investments Commission เท่านั้นค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้จดทะเบียน มักจะจดทะเบียนผ่านตัวแทนต่างๆ เช่น สำนักงานทนายความ หรือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี หรือ สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้นะคะ

ความแตกต่างระหว่าง การจดทะเบียนชื่อธุรกิจ (Business Name) และ การจดทะเบียนบริษัท (Company) เมื่อทำธุรกิจในออสเตรเลีย

มีข้อแตกต่างดังนี้ค่ะ

  1. ถ้าคุณดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้าหรือชื่อธุรกิจ (Business Name)  คุณจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบภาระผูกพันในธุรกิจนั้นๆโดยตรงค่ะ และไม่ว่าธุรกิจจะได้กำไรหรือขาดทุน คุณคือผู้รับผิดชอบโดยตรง เราเรียกกันว่า Sole Trader ค่ะ การตัดสินใจในการดำเนินการบริหารและผลกำไรขาดทุนทุกอย่างจะเป็นของผู้ดำเนินการหรือเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวค่ะ
  2. ทั้งนี้การดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้าหรือชื่อธุรกิจ (Business Name) นั้น คุณสามารถมีผู้ร่วมลงทุนในธุรกิจได้นะคะ คือ ร่วมกันเป็นเจ้าของและรับผิดชอบภาระผูกพันในธุรกิจด้วยกันค่ะ หรือที่เรียกว่า Partnership  ดังนั้นอำนาจในการตัดสินใจ และ การแบ่งผลกำไรก็จะถูกแบ่งออกไปโดยเท่าเทียมกัน แต่ถ้าคุณได้เขียนสัญญา ที่เรียกว่า Partnership Agreement เป็นตัวกำหนดการแบ่งผลกำไร และ การลงทุนเอาไว้ การแบ่งผลกำไรขาดทุนก็จะถูกแบ่งตามสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานะคะ
  3. ส่วนในการจดทะเบียนบริษัท (Company) นั้น ทางกฎหมายถือว่า บริษัทคือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีความสามารถ มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายเหมือนกับบุคคลธรรมดา นะคะ การจดทะเบียนบริษัท(Company) จึงเป็นหนทางในการทำธุรกิจที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะพึงกระทำค่ะ การจดทะเบียนบริษัท (Company) นั้น นักลงทุนมักจะเป็นผู้ถือหุ้น (Shareholder)  และ หาผู้จัดการบริษัทหรือ ผู้จัดการธุรกิจมาช่วยบริหารหรือทำธุรกรรมต่างๆในบริษัทแทนค่ะ หรือ ที่เรียกว่า Director ค่ะ ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนหรือผู้ถือหุ้น (Shareholder) ของบริษัทยังสามารถเป็นบุคคลเดียวกันกับ Director ได้ด้วยนะคะ
  4. การจดทะเบียนบริษัทนั้นจะเป็นการลดความเสี่ยงหรือผลกระทบที่จะมาถึงตัวนักลงทุนได้ค่ะ เพราะถ้าธุรกิจไม่สามารถดำเนินได้อย่างที่คาดหวังไว้ นักลงทุนสามารถปิดตัวบริษัทที่ดำเนินการ หรือ เปลี่ยนผู้บริหารจัดการได้ค่ะ
  5. การจดทะเบียนบริษัทนั้นจะมีข้อดีอีกอย่างคือ ถ้านักลงทุน หรือ ผู้ถือหุ้นเสียชีวิตหรือ มีข้อจำกัดในการลงทุน บริษัทเองสามารถดำเนินการหาผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นรายใหม่ได้ค่ะ โดยไม่จำเป็นต้องปิดตัวเองลงไปค่ะ
  6. การจดทะเบียนบริษัท รวมถึงการดำเนินการภายใต้บริษัท (Company) นั้น เป็นการลงทุนระยะยาวที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงกว่า การจดทะเบียนชื่อการค้าหรือชื่อธุรกิจ (Business Name)  นะคะ ดังนั้น ทนายเพื่อคนไทย (Lawyers For Thai)จึงอยากให้นักลงทุนทุกท่านคำนวณค่าใช้จ่ายและทำแผนการเงิน (Financial Plan) รวมทั้งเรียนรู้ในเรื่องการลดหย่อนภาษี และ การชำระภาษีที่ถูกต้อง ก่อนที่จะทำการลงทุนด้วยนะคะ
  7. อีกอย่างหนึ่งค่ะ บริษัท (Company) สามารถเป็นจดทะเบียนเป็นเจ้าของชื่อการค้าหรือชื่อธุรกิจ (Business Name)  ได้นะคะ
  8. ที่สำคัญคุณจะต้องมีเลข ABN ก่อนที่จะจดทะเบียนชื่อการค้าหรือชื่อธุรกิจ (Business Name) นะคะ

 

ทำธุรกิจในออสเตรเลีย

ถ้าท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ท่านสามารถสอบถามหรือปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ ทนายเพื่อคนไทย (Lawyers For Thai)  ยินดีให้บริการค่ะ หรือ ศึกษาจาก website ของ ASIC (http://asic.gov.au/) ได้นะคะ สวัสดีค่ะ

[/one_half_last]
Lawyers for Thai ทนายไทย เมลเบิร์ ทนาย Melbourne
LAWYERS FOR THAI
ปรึกษาปัญหาด้านธุรกิจในภาษาที่คุณคุ้นเคย
Tel: +613 9670 2122
Email: lawyersforthai@wantrup.com.au
Address: Level 18 1801/8 Sutherland Street, Melbourne, VIC 3000
Facebook: https://www.facebook.com/LawyersForTHAI/
Website: http://www.lawyersforthai.com
Tags

Lawyers For Thai

สำนักงาน "ทนายเพื่อคนไทย" มีทีมงานทนายความและเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ เรายินดีให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายทั้งส่วนบุคคลและด้านธุรกิจ

Leave a Reply

Back to top button
Close