เรื่องควรรู้ เมื่ออยู่เมลเบิร์น

ภัยเงียบของเหล่าบล็อคเกอร์ออนไลน์ ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้ว ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าการถูกฟ้องร้องจากการใช้รูปภาพบนอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก

บทความในตอนที่ 2 นี้จะแนะนำพวกคุณว่า “โพสต์อย่างไรให้ไม่โดนฟ้อง” ค่ะ  😀

Thank you Galymzhan Abdugalimov

1. หากคุณกำลังใช้รูปภาพโดยไม่ได้รับคำอนุญาต คุณกำลังละเมิดลิขสิทธิ์และอาจโดนฟ้องได้ ! 

ถามว่าโอกาสโดนสูงไหม? อาจจะไม่นะคะ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็น โอกาสโดนมีไหม? ตอบได้เลยว่าช่ายย (ฉันโดนมาแล้ว >_<) เพราะฉะนั้น การพิจารณาตรวจทานเว็บและลบรูปที่ไม่ใช่ของเราจึงเป็นสิ่งที่แนะนำให้ทำอย่างยิ่ง

2. หารูปภาพจากแหล่งที่อนุญาตให้เราใช้ได้

  1. หาภาพที่เป็นของ Creative Commons
    คุณสามารถหาภาพที่สามารถนำไปใช้งานได้ฟรีๆ ในเว็บที่ร่วมกับcreative commons ถึงแม้ว่าบางที่อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่ภาพที่อยู่ในเว็บพวกนี้เป็นภาพที่ใช้งานได้และถ้าหาดีๆก็จะมีภาพเจ๋งๆอยู่เยอะแยะเชียว แต่อย่างไรก็ดี คุณยังควรที่จะให้เครดิตเจ้าของภาพ และลงลิงค์ไปยังเว็บต้นแหล่งเสมอ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Creative Commonsฉันแนะนำให้คุณอ่านบทความของ Meghan ดู เพราะเธอเขียนไว้ได้อย่างละเอียดเลยทีเดียว รวมถึงยังมีแหล่งหาภาพฟรีอื่นๆอีกด้วย 
  2. Wikimedia Commons  เว็บนี้เป็นแหล่งรวมไฟล์มัลติมีเดียที่ใครสามารถนำไปใช้ก็ได้ กฎในการใช้ก็คล้ายๆกับ Creative Commons
  3. สมัครแพคเกจของเว็บที่เก็บรูปภาพ เช่น Shutter Stock, Getty Image เป็นต้น  ถึงแม้ว่าราคาอาจจะแพง แต่คุณก็สามารถเข้าไปใช้ ไปโหลดรูปได้ทั้งปี ตัวอย่างการสมัคร
  4. ใช้ภาพจาก Public Domain

3. ลงรูปที่คุณถ่ายเอง และแบ่งปันคนอื่นๆบนโลกออนไลน์

คงปฎิเสธไม่ได้ว่ามือถือที่ถ่ายรูปได้ถือเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของหมู่เราชาวเน็ตไปแล้ว นอกจากการถ่ายรูปคนในครอบครัว ทำไมเราไม่ลองถ่ายรูปที่สามารถใช้ลงโพสต์ได้ด้วยล่ะ ยกตัวอย่างเช่น เดินไปเจอป้ายห้ามเข้าข้างถนน หยุดเดินแล้วถ่ายซักแชะ นอกเหนือจากนี้ คุณยังช่วยเหลือสังคมได้ด้วยการ ใช้Flickr แล้วติ๊กว่าเราจะลงรูปให้เป็นส่วนหนึ่งของ creative commons ซึ่งทำให้เราแบ่งปันรูปให้กับผู้คนได้อีกมากมาย ซึ่งเราสามารถตั้งค่าได้อีกด้วยว่า ภาพใดที่ต้องขอลิขสิทธิ์จากเราก่อนนำขึ้นเผยแพร่เท่านั้น

4. ใช้รูปจาก Pinterest, Tumblr หรือเว็บไซต์ใหญ่ๆด้วยความระมัดระวัง

ในระยะสองเดือนมานี้ ฉันได้อ่าน terms of service เยอะมาก แต่ฉันก็ไม่ได้จบกฎมายมา เพราะฉะนั้น บทความนี้จึงไม่นับว่าเป็นการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย แต่เรียกว่าเป็นลักษณะของเพื่อนเตือนเพื่อนคงจะดีกว่า เมื่อคุณอัพโหลดอะไรก็ตามลงบน Tumblr และ Pinterest นั่นหมายความว่า คุณประกาศตัวว่าคุณเป็นเจ้าของรูปภาพนั้นๆ เพราะฉะนั้น เมื่อเจ้าของตัวจริงของภาพมาเจอและฟ้องบริษัท Tumblr หรือ Pinterest คุณเองจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ โดยเฉพาะPinterest เขียนไว้ว่า ถ้าคุณ repin ภาพใดๆก็ตาม หมายความว่า คุณเป็นเจ้าของภาพเหล่านั้นด้วย (เอากะเค้าสิ) ซึ่งแบบนี้หมายความว่าคนแทบจะ99% ในPinterest กำลังทำผิดกฏหมาย ซึ่งอนาคตอาจโดนฟ้อง หรือไม่โดนก็ได้ ซึ่งหลังจากที่รู้แบบนี้ ฉันเลยเริ่มระแวง ไม่อยากกลายเป็นตัวอย่างที่โดนแจ๊คพ็อตพอดี ก็เลยเริ่มหยุดการ Pin สิ่งที่เจ้าของอาจไม่อยากให้ Pin

ทางออกที่ดีที่สุดตอนนี้คือ Pin รูปภาพที่เป็นของตัวเอง หรือจากเว็บที่มีปุ่ม Pin It (แต่ระวังนิดนึง เพราะเว็บที่ทำปุ่มนี้อาจขโมยรูปมาอีกทีก็ได้) หลังๆมานี้ฉันpin พวกปกหนังสือ ไม่ก็ใบปิดหนัง เพราะฉันคิดว่ามันเป็นการโฆษณาให้หนังสือกับหนังด้วย แต่รูปสวยๆทั่วๆไปนี่ฉันไม่กล้าเลยล่ะ​

5. ระลึกไว้เสมอก่อนเลยว่า เนื้อหา รูปภาพทุกอย่างมีเจ้าของ มีลิขสิทธิ์

คิดแบบนี้จะปลอดภัยที่สุด เพราะถ้าคุณไม่มั่นใจจริงๆ100% ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า ไม่

นี่รวมไปถึงภาพดาราด้วยเช่นกัน จริงๆแล้ว มันก็มีภาพฟรีให้เราเลือกใช้ได้มากมายเลย เพราะฉะนั้น เราก็ควรจะเลือกเสี่ยงคุกเสี่ยงตะรางให้น้อยที่สุดว่าไหม

6. อย่าลืม! เตือนเพื่อนชาวบล็อคเกอร์คนอื่นๆด้วย 

ถ้าฉันไม่มีโอกาสแชร์ประสบการณ์เรื่องนี้ให้พวกคุณ ฉันต้องอกแตกตายแน่ๆ เพราะฉันไม่อยากเห็นใครต้องมาเจอแบบฉัน และถ้าคุณเห็นใครกำลังทำผิดๆหรือละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นอยู่ ให้รีบบอกเค้าเลย เพราะย้อนกลับไป ฉันก็อยากให้ใครบางคนเตือนฉันก่อนเกิดเรื่องขึ้นเหมือนกัน

ฉันรู้นะว่าพวกคุณบางคนอาจคิดว่าฉันวิตกไปเอง หรือโอกาสที่จะเกิดเรื่องจริงๆมันน้อยมากก อืม ก็นะ อาจจะใช่ แต่มันก็เกิดกันฉันแล้ว และตอนนี้ฉันเรียนรู้แล้วจึงจะปรับปรุงให้ดีขึ้น 🙂

 

คำคมวันนี้ : ปกป้องตัวเอง และเคารพสิทธิของศิลปินคนอื่นด้วย

 

สุดท้ายนี้ สาวRoni Loren ก็ทิ้งท้ายไว้ว่าเธอไม่ได้จบนิติมานะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เล่าๆมาไม่ใช่คำแนะนำด้านกฎหมายแบบเป็นทางการ เธอเพียงแต่เอาประสบการณ์ตัวเองในช่วงสองสามอาทิตย์นี้มาแชร์ให้ฟัง หลังจากที่ได้พูดคุยและทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านลิขสิทธิ์มา

ก็ต้องขอขอบคุณ Roni Loren มา ณ ที่นี้ ที่ทำให้เราได้รู้อีกมุมมองของการใช้รูปบนอินเตอร์เน็ต งานนี้ อ่านแล้วนึกได้อย่างเดียว “กันไว้ ดีกว่าแก้” ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้บล็อคเกอร์ทุกคน ที่มุ่งมั่นสร้างเนื้อหาดีๆให้สังคม อย่าให้เรื่องนี้ทำให้พวกคุณเลิกนะคะ สู้ๆค่ะ

 

 

Leave a Reply

Back to top button
Close