Featured Articlesเรื่องควรรู้ เมื่ออยู่เมลเบิร์น

ความเสมอภาคทางเพศ

ความเสมอภาคทางเพศ  
บทบาทและความเป็นหญิงเป็นชายในแต่ละสังคมจะถูกหล่อหลอมออกมาตามลักษณะทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ครอบครัว และยังเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับอายุ ชนชั้น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม สภาพภูมิศาสตร์ของสังคมนั้นๆ อีกด้วย
บทบาทและความเป็นหญิงเป็นชายทางสังคมจึงไม่หยุดนิ่ง และเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัยกาลเวลา ทำให้ในบางสังคมแนวความคิดเกี่ยวกับความเป็นหญิงเป็นชายเปลี่ยนแปลงได้ยากหรือเปลี่ยนแปลงได้น้อยทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย บทบาทและความคาดหวังบางอย่างก็ยังฝังแน่นและไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ก็นำไปผูกโยงยึดติดกับบทบาทเพศทางร่างกาย จนหลงลืมกันไปว่าบทบาทความเป็นหญิงชายเหล่านี้ถูกกำหนดโดยสังคม เช่น ผู้หญิงต้องตั้งครรภ์และมีเต้านมสามารถให้ลูกดูดกินตามบทบาทเพศ ทำให้สังคมคาดหวังและกำหนดให้ผู้หญิงมีหน้าที่เลี้ยงลูก ทั้งที่ปัจจุบันเด็กดูดนมสำเร็จจากขวดเป็นส่วนใหญ่ แต่สังคมก็ยังคาดหวังให้แม่เป็นผู้ให้นมขวดแก่ลูกทั้งที่เป็นบทบาทที่หญิงชายทำได้เหมือนๆกัน
ผู้หญิงโดยทั่วไปของออสเตรเลียจะต้องทำงานเพิ่มอีก 66 วันต่อปีถึงจะมีรายได้เช่นเดียวกับผู้ชาย

ความเสมอภาคทางเพศในประเทศออสเตรเลีย

ในทศวรรษที่ผ่านมาผู้หญิงในประเทศออสเตรเลียได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการบรรลุความเท่าเทียมกันกับผู้ชาย ผู้หญิงได้เข้ามารับบทบาทความเป็นผู้นำมากขึ้นทั้งที่มหาวิทยาลัย ในสถานที่ทำงาน ในห้องประชุม และในรัฐบาล ทำให้เป็นตัวอย่างสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงอื่น ๆ ที่จะได้ปฏิบัติตาม
ในปี คศ 1984 พระราชบัญญัติการกีดกันทางเพศมีผลบังคับใช้ ทำให้เป็นเรื่องผิดกฏหมายหากเลือกปฏิบัติกับคนบางคนบนพื้นฐานของเพศ, สถานภาพสมรส, ความรับผิดชอบต่อครอบครัว หรือเพราะพวกเขากำลังตั้งครรภ์ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของชุมชน และช่วยให้ความเสมอภาคทางเพศในประเทศนี้คืบหน้าไปมาก แม้จะมีความคืบหน้านี้ ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังคงได้รับความไม่เท่าเทียมกันและได้รับการเลือกปฏิบัติ ในด้านต่างๆซึ่งสำคัญมากต่อชีวิตของพวกเขา จึงเป็นตัวจำกัดทางเลือกและโอกาสที่มีมาให้

สถิติด้านความเสมอภาคทางเพศในประเทศออสเตรเลีย

  • ประชากรออสเตรเลียมีผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเพียงครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50.2) เท่านั้น
  • ในขณะที่ลูกจ้างจะประกอบด้วยผู้หญิงประมาณร้อยละ 46 พวกเขาจะมีรายได้โดยเฉลี่ย น้อยกว่าผู้ชาย ในแต่ละสัปดาห์เป็นจำนวนเงิน $ 283.20 (เปรียบเทียบจากการทำงานของผู้ใหญ่เต็มเวลาในเวลาปกติ ) ช่องว่างของการจ่ายเงินระหว่างชายหญิงในประเทศ ถือเป็นร้อยละ 18.2 และมันก็ยังคงอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 15 ถึง ร้อยละ 18 ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา
  • ผู้หญิงโดยทั่วไปของออสเตรเลียจะต้องทำงานเพิ่มอีก 66 วันต่อปีถึงจะมีรายได้เช่นเดียวกับผู้ชายโดยทั่วไป
  • ผู้หญิงออสเตรเลียนับได้ 92 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ดูแลหลักต่อเด็กที่มีความพิการ, 70 เปอร์เซนต์เป็นผู้ดูแลหลักสำหรับพ่อแม่ และ 52 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ดูแลหลักสำหรับคู่ครอง
  • ในปี 2013 ประเทศออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 24 ในโลกจากการดัชนีวัดความเท่าเทียมทางเพศ, ตกลงจากอันดับที่ 15 ในปี 2006

อุปสรรคต่อความเท่าเทียมกันทางเพศ

  • ผู้หญิงออสเตรเลียจำนวนมากจะทำงาน Part-time ในอุตสาหกรรมที่ได้เงินเดือนน้อยและไม่มั่นคง และยังคงได้รับบทบาทในความเป็นผู้นำน้อยทั้งในภาครัฐและเอกชน
  • หนึ่งในสี่ของผู้หญิง ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงานระหว่างปี 2007 และ 2012 ผู้กระทำโดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นเพื่อนร่วมงาน (ร้อยละ 52) และรูปแบบที่พบมากที่สุดของการล่วงละเมิดทางเพศได้แก่การแสดงความคิดเห็นชี้นำทางเพศ / พูดแหย่ (ร้อยละ 55) ถามคำถามล่วงล้ำเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวหรือเรื่องรูปลักษณ์ (ร้อยละ 50) และ จ้องมองอย่างไม่เหมาะสม (ร้อยละ 31)
  • ในปี 2014 หนึ่งในสอง (49 เปอร์เซ็นต์) ของผู้หญิงตั้งครรภ์รายงานว่าได้รับการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน ในระหว่างตั้งครรภ์, ลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร, หรือเมื่อกลับไปทำงาน และหนึ่งในห้า (18 เปอร์เซ็นต์) ชี้ว่าพวกเขาถูกไล่ออก, หรือไม่ได้ถูกต่ออายุสัญญาว่าจ้างให้เนื่องจากการตั้งครรภ์, หรือเมื่อพวกเขายื่นคำร้องขอลาหรือหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตร, หรือเมื่อพวกเขากลับไปทำงาน
  • ผู้หญิงที่เป็นแม่จะใช้เวลาในแต่ละสัปดาห์เลี้ยงดูบุตรอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเวลาสองเท่า (8 ชั่วโมงและ 33 นาที) เมื่อเทียบกับผู้เป็นพ่อ (3 ชั่วโมงและ 55 นาที)
  • ในปี ค.ศ. 2009-2010, เงินบำนาญเฉลี่ยสำหรับผู้หญิงจะได้รับเพียงแค่เกินกว่าครึ่งหนึ่ง (57%) ของเงินที่ผู้ชายได้รับ การจ่ายเงินเกษียณอายุเฉลี่ยในปี ค.ศ. 2009-10 เป็นของผู้ชาย $ 198,000 และเพียง $ 112,600 สำหรับผู้หญิง เป็นผลให้ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะพบกับความยากจนในปีที่เกษียณอายุของพวกเขา และจะไม่สามารถพึ่งพาเงินบำเหน็จบำนาญได้
  • หนึ่งในสามของผู้หญิงออสเตรเลียอายุ 15 ปีขึ้นไปจะประสบกับการถูกกระทำหรือความรุนแรงทางร่างกาย และเกือบหนึ่งในห้าประสบกับการถูกข่มขืน เป็นที่คาดว่าการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กจะทำให้ออสเตรเลียต้องเสียค่าใช้จ่าย $ 15.6 พันล้านต่อปีไปจนถึงปี ค.ศ. 2021-2022 ยกเว้นจะมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นการป้องกัน
  • ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันการตาย ความพิการ และการเจ็บป่วยในผู้หญิงอายุ 15 ถึง 44 ปี ได้มากกว่าการป้องกันจากการสูบบุหรี่หรือโรคอ้วน
พัฒนาการในเชิงบวก
  • จำนวนของผู้หญิงในบอร์ดบริษัท ASX 200 ได้เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 8.3 ในปี ค.ศ. 2010 เป็นร้อยละ 18.6 ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2014
  • ผู้ชายและผู้หญิงออสเตรเลียเชื่อขาดลอย (ร้อยละ 90) ว่าผู้ชายควรจะมีส่วนร่วมในการอบรมเลี้ยงดูลูกเหมือนผู้หญิง
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ลูกจ้างชาวออสเตรเลียกว่าหนึ่งล้านคนสามารถลางาน และอุ่นใจกับความคุ้มครองต่างๆ ที่มีในเงื่อนไขของการว่าจ้างงาน

อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW)

สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาฉบับนี้ คือการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมทั้งการประกันว่าสตรีและบุรุษมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน ได้แก่
1. กล่าวถึงคำจำกัดความของคำว่าการเลือกปฏิบัติต่อสตรี(discriminationa gainst women) พันธกรณีของรัฐภาคี มาตรการที่รัฐภาคีต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของสตรี มาตรการเร่งด่วนชั่วคราวเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีอย่างแท้จริงซึ่งจะไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศการปรับรูปแบบทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เอื้อต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและการปราบปรามการลักลอบค้า และแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากสตรี
2. กล่าวถึงความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมืองและการดำรงชีวิต (public life) ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ความเท่าเทียมกันในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และการศึกษา
3. กล่าวถึงการที่สตรีจะได้รับการดูแลทางเศรษฐกิจโดยได้รับความเท่าเทียมกันในด้านสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานและสิทธิด้านแรงงาน รวมถึงการป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่ทำงานความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และหลังคลอดบุตร การที่รัฐภาคีจะประกันความเป็นอิสระของสตรีด้านการเงินและความมั่นคงด้านสังคมและการให้ความสำคัญแก่สตรีในชนบท ทั้งในด้านแรงงานและความเป็นอยู่
4. กล่าวถึงความเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรีในด้านกฎหมายโดยเฉพาะในด้านกฎหมายแพ่งและกฎหมายครอบครัว ซึ่งเป็นการประกันความเท่าเทียมกันในชีวิตส่วนบุคคล
5. กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบพันธกรณีในการจัดทำรายงานของรัฐภาคี การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ และการมีส่วนร่วมของทบวงชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง
6. กล่าวถึงการมิให้ตีความข้อบทของอนุสัญญาที่จะขัดต่อกฎหมายภายในที่ดำเนินการมากกว่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ การนำพันธกรณีไปปฏิบัติในระดับประเทศการเปิดให้ลงนามและกระบวนการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาการแก้ไขอนุสัญญา เงื่อนไขการมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญา การตั้งข้อสงวน การขัดแย้งในการตีความระหว่างรัฐภาคี

ตัวอย่างคำร้องเรียนภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกปฏิบัติทางเพศ

การเลือกปฏิบัติทางเพศ (sex discrimination) เช่น
  • พนักงานชายได้รับเงินมากกว่าพนักงานหญิงที่ทำงานหน้าที่เดียวกัน
  • นโยบายบริษัทบอกว่าผู้บริหารจะต้องทำงานเต็มเวลา (full-time) เช่นนี้อาจทำให้ผู้หญิงเสียเปรียบ เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานแบบ part-time เนื่องจากมีหน้าที่รับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูก
  • พนักงานขายในร้านค้าปฏิเสธที่จะบริการลูกค้าที่มีลักษณะดูเป็นผู้หญิง แต่มีเสียงทุ้มลึกแบบผู้ชายเพราะเธอรู้สึกอึดอัดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลนั้น
  • ฝ่ายบุคคลมีนโยบายไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียนของพนักงาน นโยบายดังกล่าวนี้อาจทำให้ บุคคลที่แปลงเพศแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับเพศเดิมของตนเองต่อไป และเป็นเหตุให้ต้องอธิบายถึงความแตกต่างตรงนี้ในรายละเอียดส่วนบุคคล
  • นายจ้างไม่เลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงานเพราะทราบว่าเขาเป็นกะเทย
  • นโยบายของบริษัท ที่เสนอสวัสดิการให้กับสามีหรือภรรยาของพนักงาน เช่นส่วนลดการเดินทางหรือการเป็นสมาชิกห้องฟิตเนส อาจทำให้พนักงานที่มีคู่ครองเพศเดียวกันเสียเปรียบเนื่องมาจากรสนิยมทางเพศและ/ หรือสถานภาพสมรสของพวกเขา
การเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของสถานภาพสมรสหรือสถานะความสัมพันธ์ (discrimination on the ground of marital or relationship status) เช่น
  • บริษัทแห่งหนึ่งไม่จ้างผู้หญิงที่แต่งงานแล้วทำงาน เพราะคิดเอาว่าเธอจะต้องการที่จะเริ่มต้นชีวิตครอบครัวและมีลูก
  • บริษัทแห่งหนึ่ง ในการทำงานในสถานที่ห่างไกล จะมีเบี้ยเลี้ยงและให้การลางานเพื่อเยี่ยมครอบครัวแต่เพียงกับพนักงานที่แต่งงานแล้ว ตรงนี้อาจทำให้พนักงานที่ยังโสดและ พนักงานที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบ de facto ต้องเสียเปรียบ
การเลือกปฏิบัติการตั้งครรภ์ (pregnancy discrimination) เช่น
  • นายจ้างปฏิเสธที่จะจ้างผู้หญิงคนหนึ่งเพราะเธอกำลังตั้งครรภ์หรือเพราะเธออาจจะตั้งครรภ์
  • นโยบายกำหนดให้พนักงานทุกคนต้องสวมเครื่องแบบแต่มันเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงานตั้งครรภ์ที่จะสวมใส่เครื่องแบบที่ว่านั้น
การเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของการให้นมลูก เช่น
  • ร้านกาแฟปฏิเสธที่จะให้บริการผู้หญิงเพราะเธอให้นมลูก
  • นายจ้างไม่อนุญาตให้พนักงานหยุดที่ช่วงสั้น ๆ ในช่วงเวลาระหว่างวัน ตรงนี้อาจทำให้ผู้หญิงที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เสียเปรียบเพราะพวกเธออาจจะต้องใช้เวลาพักเพื่อปั๊มน้ำนม
                                                             Breastfeeding in Public
การเลือกปฏิบัติในความรับผิดชอบต่อครอบครัว (family responsibilities discrimination) เช่น
  • นายจ้างจะปฏิเสธที่จะจ้าง ลดขั้นหรือลดชั่วโมงการทำงานของพนักงาน เพราะพนักงานคนนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว

การล่วงละเมิดทางเพศ

การล่วงละเมิดทางเพศเป็นพฤติกรรมทางเพศใดๆที่ไม่พึงปรารถนา เป็นการรุกราน ทำให้ละอาย หรือข่มขู่ ตัวอย่างเช่น:
  • การสัมผัสทางกายที่ไม่พึงปรารถนา
  • จ้องมองหรือ leering
  • ความคิดเห็นชี้นำหรือทำเป็นเรื่องตลก
  • ชวนออกเดทโดยที่เราไม่ชอบ
  • การร้องขอต้องการมีเซ็กซ์ด้วย
  • ส่งอีเมล์ภาพลามกอนาจารหรือหยาบคายตลก
  • ส่งข้อความทางเพศที่โจ่งแจ้ง
  • ถามคำถามล่วงล้ำเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวหรือร่างกายของคุณ
  • แสดงโปสเตอร์, นิตยสารหรือสกรีนเซฟเวอร์ ที่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ
ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความปลอดภัยและเป็นอิสระจากการล่วงละเมิดทางเพศในขณะที่ทำงาน พระราชบัญญัติการเลือกปฏิบัติทางเพศยังคุ้มครองคุณถ้าคุณถูกคุกคามทางเพศเมื่อคุณกำลังให้หรือรับสินค้าและบริการ หรือเมื่อคุณกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย

หากถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจะทําอย่างไร?

ผู้ถูกละเมิด หรือผู้แทน หรือผู้พบเห็นการละเมิด สามารถร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย (Australian Human Rights Commission) ซึ่งหน่วยงานนี้จะทำหน้าที่
  • แก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของการเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลาง
  • ถือเอาคำสอบถามจากประชาชนในประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นความสำคัญระดับชาติ
  • พัฒนาโปรแกรมการศึกษาและทรัพยากรในเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับโรงเรียน สถานที่ทำงาน และชุมชน
  • ให้คำแนะนำที่เป็นอิสระทางกฎหมายเพื่อช่วยเหลือศาลในกรณีที่เกี่ยวข้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน
  • ให้คำแนะนำและส่งไปยังรัฐสภาและรัฐบาลในการพัฒนากฎหมาย นโยบาย และโปรแกรม
  • ดำเนินการและประสานงานการวิจัยในด้านสิทธิมนุษยชนและปัญหาการเลือกปฏิบัติ

วิธีการร้องเรียน

· ทางจดหมาย
· ทางโทรศัพท์
· ด้วยตนเอง ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย
· ทางโทรสาร
· ส่งข้อความสื่ออิเล็คโทรนิกส์ เช่น อีเมล์ หรือ สื่ออื่นๆ
การร้องเรียนสามารถทำได้ในทุกภาษา หากคุณต้องการคนแปลหรือล่าม คณะกรรมการสามารถจัดหาให้คุณได้

ติดต่อ Australian Human Rights Commission ได้ที่

Telephone
Info Line: 1300 656 419 (local call)
TTY: 1800 620 241 (toll free)
Fax: (02) 9284 9611
Post
Australian Human Rights Commission
GPO Box 5218
Sydney NSW 2001
Online
ชาว เด็กออส คิดอย่างไรกับบทความนี้คะ? คุณเคยถูกเลือกปฏิบัติมั้ย ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือในที่สาธารณะ และคุณทำอย่างไร? บอกกล่าวให้กันฟังได้ในคอมเม้นต์ด้านล่างนะคะ ขอบคุณที่อ่าน หากบทความนี้เป็นประโยชน์ กรุณาแชร์ เพื่อสังคมที่ดีขึ้น จักขอบพระคุณมากๆค่ะ
ขอขอบคุณ คุณกวาง Chutima Jackson สำหรับบทความเรื่อง ความเสมอภาคทางเพศ ดีๆนี้ค่ะ

อ่านบทความอื่นๆ ของคุณกวางใน Dekaus 

สิทธิมนุษยชนในออสเตรเลีย
กฎหมายครอบครัว

อ้างอิง

  1. Australian Human Rights Commission. Face the facts: Gender Equality. Available from: https://www.humanrights.gov.au/educ…
  2. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. พันธกรณีระหว่างประเทศ. Available from: http://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge/International-Human-Rights-Affairs/International-Law-of-human-rights.aspx
Tags

Leave a Reply

Back to top button
Close