Featured Articlesชีวิตในเมลเบิร์นเรื่องควรรู้ เมื่ออยู่เมลเบิร์น

กฏหมายครอบครัว Family Law

บทความดีๆ จาก Thai Women’s Friendship Centre ในครั้งนี้ขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับ Family Law กฎหมายครอบครัว ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับชาวไทยที่มีครอบครัวอยู่ในออสเตรเลีย เมื่อเจอปัญหา นอกจากจะสามารถติดต่อทางมูลนิธิตามลิงค์เพจด้านล่างแล้ว ยังติดต่อศูนย์ช่วยเหลือได้ตามเบอร์โทรศัพท์ในบทความค่ะ ทั้งนี้ ขอขอบคุณ คุณกวาง Chutima Jackson ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลดีๆมาให้พวกเราได้อ่านกันไว้ ณ ที่นี้ด้วย
กฏหมายครอบครัว
กฏหมายครอบครัว

กฏหมายครอบครัว

จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 13/11/16 – 10.30-13.30 น พวกเราได้พบกับเจ้าหน้าที่จากลีกอลเอด (Legal Aid) พูดคุยกันเรื่อง “รู้ไว้ใช่ว่า เรื่อง กฏหมายครอบครัว ” และได้ความรู้กลับมาหลายอย่าง ต้องขอขอบคุณผู้จัดที่ได้มาให้ความรู้กับพวกเรา และอยากจะขอเแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้กับผู้ที่สนใจได้อ่านกันนะคะ เผื่อจะได้เอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้บ้างค่ะ สรุปคร่าวๆได้ดังนี้ค่ะ

Victoria Legal Aid

สามารถให้ความช่วยเหลือคุณได้ฟรีและให้ข้อมูลที่ไว้ใจได้เกี่ยวกับกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม มีปัญหากับตำรวจ ต้องไปขึ้นศาลแต่ไม่มีเงินพอที่จะจ้างทนาย วิตกเกี่ยวกับเรื่องเงิน เป็นหนี้ ถูกไล่ออก หรืออยู่ในระหว่างหย่าร้าง Legal Aid สามารถช่วยเหลือคุณได้และอาจแนะนำคุณต่อไปยังหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือคุณได้เฉพาะเรื่อง เพราะปัญหาของแต่ละคนนั้นย่อมมีความแตกต่าง เบอร์ติดต่อ Legal Aid คือ 1300 792 387 วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 8.45 น. ถึง 5.15 น. หากต้องการล่ามเพื่อช่วยให้พูดและแปลให้ ให้ติดต่อที่หมายเลข 131 450 ก่อนแล้วขอให้ต่อโทรศัพท์ถึงลีกอลเอดให้

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของทางการที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเรา ได้แก่

– Consumer Law โทร 1300 55 81 81
– Family Relationship Centre โทร 1800 050 321
– Centrelink – Child Support
– Financial Counselling โทร 9553 3227
– Intouch โทร 1800 755 988
– Centrelink Social Worker โทร 132 850
– Safe Steps โทร 1800 015 188
– Police โทร 000
– Nurse on call 1300 60 60 24
– Victoria Poisons Information Centre 13 11 26
ในออสเตรเลียการยื่นคำร้องขอหย่านั้น ศาลจะต้องเห็นว่าการสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีการแยกทางกันอยู่ (separation) 12 เดือน และไม่กลับมาคืนดีกันแล้ว พร้อมทั้งมีหลักฐานพิสูจน์ได้ การแยกทางกันนี้ยังสามารถพำนักอยู่ในบ้านหลังเดียวกันได้ การแยกทางกันนั้นคุณไม่จำเป็นต้องไปยื่นขออนุญาตต่อทางการ คุณสามารถทำได้เลย เพียงแต่การเริ่มนับจำนวนวันที่แยกทางกันของคุณกับคู่สมรสอาจจะแตกต่างกันไปบ้างเท่านั้นค่ะ
หย่า
การยื่นเรื่องขอหย่า สามารถทำได้โดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากคุณมีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงบุตรบุญธรรม บุตรที่อยู่ในความอุปการะ หรือบุตรที่เกิดจากความสัมพันธ์ในอดีต การหย่านี้คู่สมรสต้องมาพิจารณาและวางแผนการเลี้ยงดูบุตร (parenting plan) ว่า
1. ลูกจะอยู่กับใคร
2. ลูกจะใช้เวลาอยู่กับพ่อและแม่อย่างไร
3. การแบ่งความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูลูกในระยะยาว เช่นความเป็นอยู่ การเข้าโรงเรียน เป็นต้น

คำสังศาลเกี่ยวกับบุตรนั้น ศาลจะพิจารณาโดยถือเอาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเป็นสำคัญ ถึงแม้คุณจะไม่มีรายได้ ศาลก็สามารถให้คุณเลี้ยงลูกได้หากนั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ
การพิจารณาคดีของศาล จะตัดสินอยู่ที่ข้อสำคัญตามลำดับคือ
1. การวางแผนการเลี้ยงดูลูกที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก
2. มีความรุนแรงเกิดขึ้นที่บ้าน หรือมีการทำร้ายเด็ก หากมีข้อนี้เกิดขึ้น ศาลจะยกข้อนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับแรกสุดค่ะ
หากใครมีอะไรเพิ่มเติมจากที่ไปเรียนด้วยกันมาก็เสริมได้เลยนะคะ หรือหากใครมีปัญหาสงสัยอะไร เขียนลงในคอมเม้นต์ได้เลยค่ะ
Thai Women's Friendship Centre
Thai Women’s Friendship Centre, Melbourne

 

ศูนย์ช่วยเหลือสตรีไทยในเมลเบิร์น ทั้งปัญหาที่ต้องการแลกเปลี่ยนกัน รวมถึงความรุนแรงในครอบครัว

ขณะนี้ ทางมูลนิธิมี Play group ที่คุณแม่และลูกสามารถมาพบเพื่อนใหม่ได้ ทุกวันอังคาร 10.30 น. เป็นต้นไป ที่ Springvale Rise Primary School รวมถึงกิจกรรมอาสาสมัคร และปลูกผักสวนครัว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ

Facebook : https://www.facebook.com/thaiwfa/

Tags

Leave a Reply

Back to top button
Close